วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเก็บรักษาปลา

   ถ้ารู้จักวิธีการเก็บปลาอย่างถูกต้องเหมาะสมจะทำให้เนื้อปลาคงความสดใหม่ได้นานหลายวัน 
ซึ่งทำได้ดังนี้
      1. ปลาที่ซื้อมาต้องควักเหงือกและไส้ออกให้หมด  ล้างแล้วซับน้ำให้แห้ง เก็บใส่ถุงหรือกล่องปิดให้สนิ นำเข้าแช่ในตู้เย็นทั่วไปช่องแช่แข็ง  ซึ่งตู้เย็นทั่วไปช่องแช่แข็งจะมีอุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส  จะเก็บได้นาน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นตู้แช่แข็งขนาดใหญ่จะมีอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานถึง 1 เดือนหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความสดของปลาที่ซื้อา
  
      2. การจัดเก็บปลาในกระบะน้ำแข็ง  เริ่มที่ควักเหงือกและไส้ปลาออก ล้างทำความสะอาดตัวปลาแล้วใส่น้ำแข็งไว้ในท้องปลา  จัดเรียงตัวปลาโดยวางส่สนท้องปลาลงบนกระบะน้ำแข็ง ให้ตัวปลาตั้งขึ้นเหมือนตอนปลายว่ายน้ำ แล้วจึงใช้น้ำแข็งโปะรอบๆตัวปลาให้แน่น  เพื่อให้ความเย็นช่วยรักษาความสดของเนื้อปลาไว้  โดยต้องเติมน้ำแข็งตลอดเมื่อน้ำแข็งละลาย  ซึ่งกระบะน้ำแข็งควรเจาะรูให้น้ำที่ละลายไหลออกไป  เพื่อเป็นการรักษาระดับความเย็นในกระบะน้ำแข็งให้เย็นอยู่ตลอด  ช่วยให้ปลาไม่ช้ำและคงความสดอยู่  วิธีนี้นิยมใช้กับแผงที่ขายปลาเท่านั้น เพื่อให้ลูกค้าเห็นตัวปลา
      

      3. การเก็บเนื้อปลาที่แล่หรือหั่นเป็นชิ้น  คือ ใส่ชิ้นเนื้อปลาในถุงพลาสติกหรือภาชนะเก็บเข้าในตู้เย็นช่องแช่แข็งหรือวางบนหรือแช่อยู่ในน้ำแข็ง ไม่ควรให้ถูกน้ำแข็งโดยตรง ถ้าเนื้อปลาสัมผัสกับน้ำหรือน้ำแข็ง เมื่อน้ำแข็งละลายจะล้างเอารสและกลิ่นปลาออกจนหมด


เคล็ดลับการทำอาหารจานปลาตำรับเด็ด
   
     ปลาทำอาหารได้หลากหลาย เพียงเลือกปลาให้เหมาะกับการทำอาหารจานต่างๆมากที่สุดคือ ปลาที่มีไขมันมาก อย่างปลาสำลี ปลาทู ปลาแซลมอน ปลาอินทรี เหมาะที่จะปิ้งย่าง อบ ต้ม หรือแกง ส่วนปลาที่มีไขมันปานกลาง อย่างปลาทูน่า ปลากะพง ปลาทราย ทำอาหารได้ทุกวิธี และปลาที่มีไขมันน้อยเช่น ปลาลิ้นหมา หรือปลาตาเดียว เหมาะกับการทอดน้ำมันมาก
      เนิ้อปลามีโครงสร้างที่มีพังผืดน้อย เส้นใยกล้ามเนื้อปลาแยกออกจากกันได้ง่าย ดังนั้นจึงใช้เวลาน้อยในการปรุงอาหาร ถ้าหุงต้มปลานานเกินไปน้ำหวานจากเนื้อปลาจะแห้งหายไป

อ้างอิง ; หนังสือปลาตำรับเด็ด สำนักพิมพ์แสงแดด / มกราคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น