วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คุณค่าของเนื้อปลา



คุณค่าทางด้านโภชนาการของปลา

ปลาเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เราจัดปลาไว้ในอาหารหลักหมู่ที่หนึ่งในประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นมและถั่วเมล็ดแห้ง โปรตีนในเนื้อปลาจะถูกนำไปใช้ในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ ไขมันที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะสมอง จะป้องกันการจับแข็งตัวของไขมันในเส้นเลือด วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะควบคุมการทำงานของร่างกายให้ทำหน้าที่ได้ตามปกติ

คุณค่าทางด้านโปรตีน ปลาชนิดต่าง ๆ ให้โปรตีนในปริมาณที่สูงพอสมควร เนื้อปลา 100 กรัม จะประกอบขึ้นด้วยโปรตีนเป็นจำนวนกรัม ดังนี้ ปลาดุก 23.0 ปลาตะเพียน 22.0 ปลากระบอก 20.7 ปลาช่อน 20.5 ปลาทู 20.0 ปลาแป้น 19.6 ปลาเก๋า 1808 ปลาทรายแดง 18.4 ปลาตาเดียว 18.1 ปลาไส้ตัน 18.0 ปลากราย 17.5 ปลาหมอไทย 17.2 ปลาสวาย 15.4 ปลาหมึกกล้วย 15.2 และปลาเนื้ออ่อน 14.4

เมื่อทำการศึกษาลงไปในรายละเอียดในด้านคุณภาพของโปรตีนในเนื้อปลาโดยทำการวิเคราะห์หาปริมาณกรดอะมิโน พบว่า โปรตีนในเนื้อปลาประกอบด้วย กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายสูง โดยเฉพาะไลซีนและทรีโอนีน ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตในเด็กและจากการประเมินคุณภาพของโปรตีนโดยใช้ค่าคะแนนของกรดอะมิโน (Amino acid score) พบว่า ปลาต่างๆ มีคะแนนดังนี้ ปลาทู 92 ( ทัดเทียมกับน้ำนมวัวซึ่งมีค่าเท่ากับ 91 ) ปลาตาเดียว 88 ปลาทรายแดง 81 ปลาช่อน 76 และปลาหมึกกล้วย 74

เนื้อปลานั้น นอกจากจะมีคุณภาพและปริมาณของโปรตีนสูงแล้ว ตามลักษณะโดยธรรมชาติของเนื้อปลา ยังพบว่า มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันน้อยมากเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์อย่างอื่น ดังนั้น เนื้อปลาจึงมีลักษณะอ่อนนิ่ม เคี้ยวง่าย นำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่จึงเหมะสำหรับเป็นอาหารทารก ผู้สูงอายุและผู้ป่วย

คุณค่าทางด้านไขมัน ไขมันที่ประกอบในเนื้อปลาทำให้รสชาติและสีของเนื้อปลาแตกต่างกันออกไป เนื้อปลา 100 กรัม ประกอบด้วยไขมันเป็นจำนวนกรัมดังนี้ ปลาสวาย 21.5 ปลาทู 6.7 ปลากระบอก 3.9 ปลาช่อน 3.8 ปลาตะเพียน 2.6 ปลาดุก 2.4 ปลาเนื้ออ่อน 2.3 ปลากราย 1.6 ปลาทรายแดง 1.0 ปลาแป้น 1.0 ปลาหมึกกล้วย 0.7 ปลาเก๋า 0.5 ปลาไส้ตัน 0.3 และปลาตาเดียว 0.1

เมื่อทำการศึกษาถึงคุณภาพของไขมันที่อยู่ในเนื้อปลา โดยทำการวิเคราะห์หาปริมาณของกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะกรดไลโนเลอิค (Linoleic acid) (C 18 : 2 , n 6 ) ซึ่งมีหน้าที่ต่างๆ ต่อร่างกาย ดังนี้

1) เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์โดยการเปลี่ยนเป็นกรดไขมันที่จำเป็นอีกชนิดหนึ่ง คือ กรดอะแรคคิโคนิค (Arachidonic acid) (C 20 : 4 , n 6 )
2) ควบคุมระดับของโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด จึงมีส่วนลดอัตราการตายจากโรคหัวใจชนิดหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน
3) เป็นต้นกำเนิดฮอร์โมนโปรสตาไซคลิน ซึ่งมีฤทธิ์ขัดขวางการจับตัวของเกร็ดเลือด ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดต่าง ๆและ
4) กรดไลโนเลอิคที่เปลี่ยนเป็นฮอร์โมนโปรสตาแกลนดิน จะทำให้ไตเพิ่มการขับถ่ายโซเดียมและน้ำออกจากร่างกาย จึงีส่วนควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติผลของการวิเคราะห์พบว่า ปลาชนิดต่างๆ มีองค์ประกอบของไลโนเลอิคเป็นเปอร์เซ็นต์ของไขมันดังนี้ ปลาตะเพียน 19.36 ปลากราย 13.47 ปลาดุก 11.82 ปลาหมอไทย 9.03 ปลาช่อน 6.00 ปลาสวาย 4.0 ปลาเนื้ออ่อน 4.09 ปลาแป้น 2.65 ปลาทรายแดง 2.05 ปลาไส้ตัน 2.03 ปลาเก๋า 1.77 ปลาทู 1.67 ปลาตาเดียว 1.49 และปลาหมึกกล้วย 1.67

นอกจากกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายแล้ว กองโภชนาการยังได้ทำการศึกษากรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่มีความสำคัญต่อร่างกายได้แก่ Eicosapentaenoic acid หรือ อีพีเอ (EPA) Docosahexaenoic acic หรือ ดี เอ็ช เอ (DHA) ด้วย

อี พี เอ เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งที่มีคุณสมบัติลดปัญหาการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ได้เนื่องจากเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารไอโคซานอยด์ที่มีคุณสมบัติลดการจับตัวของเกร็ดเลือด นอกจากนั้น ร่างกายสามารถนำกรดไขมัน อี พี เอ นี้ไปสร้างสารที่ช่วยการขยายตัวของหลอดเลือดด้วย

อี พี เอ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของไขมันดังนี้ ปลาทู 12.24 ปลาหมึกกล้วย 8.00 ปลาแป้น 7.87 ปลาใส้ตัน 6.43 ปลาเก๋า 4.44 ปลาช่อน 3.70 ปลาทรายแดง 3.05 ปลาสวาย 2.22 ปลาตาเดียว 2.06 ปลาเนื้ออ่อน 1.73 ปลาตะเพียน 0.76 ปลาหมอไทย 0.73 ปลากราย 0.68 และปลาดุก 0.54

สำหรับกรดไขมันอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มเดียวกันนี้ คือ ดี เอ็ช เอ นั้นมีส่วนพิสูจน์คำกล่าวที่ว่า “กินปลาแล้วสมองดี” สาร ดี เอ็ช เอ นี้มีในผนังเซลล์ทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์มีความไวต่อการรับสัญญานประสาท นอกจากนั้นยังพบว่ามีปริมาณสูงในจอตาและที่สำคัญที่สุด คือ เป็นไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์สมอง ซึ่งพบว่ามีถึงร้อยละ 65 สมองมนุษย์มีไขมันชนิดนี้เป็นส่วนประกอบอยู่ครึ่งหนึ่งก่อนกำเนิด ส่วนทีเหลือจะได้มาในช่วงปีแรกของชีวิต เพราะฉะนั้น ดี เอ็ช เอ จึงมีความสำคัญมากต่อสตรีในระยะตั้งครรภ์และมารดาในระยะให้นมบุตร ที่ช่วยให้สมองทารกพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ผลการวิเคราะห์กรดนี้จากเนื้อปลาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของไขมันมีดังนี้ ปลาหมึกกล้วย 29.41 ปลาตาเดียว 25.35 ปลาทรายแดง 25.01 ปลาไส้ตัน 20.78 ปลาเก๋า 19.38 ปลาช่อน 16.39 ปลาทู 14.96 ปลาแป้น 11.31 ปลาสวาย 9.21 ปลาหมอไทย 6.59 ปลาดุก 4.22 ปลาตะเพียน 4.50 ปลาเนื้ออ่อน 3.15 และปลากราย 2.23


คุณค่าทางด้านแร่ธาตุ เมื่อศึกษาถึงองค์ประกอบของแร่ธาตุที่มีอยู่ในเนื้อปลาแล้วพบว่า เนื้อปลาส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุแคลเซียมละฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่พอดีต่อการสร้างกระดูกและฟัน นอกจากนั้นยังพบว่าปลาบางชนิด ได้แก่ ปลาตาเดียว ปลาทู ปลาไส้ตัน ปลากระบอกและปลาหมอไทย มีธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนประกอบในการสร้างเม็ดโลหิตแดง ธาตุนี้ป้องกันโรคโลหิตจางและแร่ธาตุที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่พบว่ามีมากในปลาทะเลโดยเฉพาะปลาทู ปลาแป้น และปลากระบอก
คือ ธาตุไอโอดีนที่เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ควบคุมการเผลาผลาญของพลังงานในร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นธาตุไอโอดีนยังเป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของสมองด้วย

คุณค่าทางด้านวิตามิน เนื้อปลามีส่วนประกอบของวิตามินบีหนึ่ง บีสอง และไนอะซิน ที่ช่วยในการเกิดพลังงานของสารคาร์โบไฮเดรท ไขมันและโปรตีน ทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการประกอบการงานและการเรียนรู้ ปลาชนิดต่าง ๆ ที่มีวิตามินเหล่านี้สูง ได้แก่ ปลาทู ปลากราย ปลากระบอก ปลาแป้น ปลาทรายแดง ปลาตะเพียน ปลาหมอไทยและปลาหมึกกล้วย
นอกจากคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อปลาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ ของปลา เช่น ไข่ปลา (ปลากระบอก) มีโปรตีนและไขมันสูงเช่นกัน นอกจากนั้นยังประกอบด้วยธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีสอง สูง เช่นกัน ตับปลาโดยเฉพาะปลาทะเล มีปริมาณของ
วิตามินเอและดี สูง จึงนำมาสกัดทำน้ำมันตับปลา ปลาเล็กปลาน้อยที่กินกระดูกได้ให้ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงด้วยเช่นกัน กล่าวโดยสรุปก็คือ ปลามีคุณค่าทางโภชนาการสูงในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านองค์ประกอบของไขมัน และไอโอดีน ที่มีส่วนพิสูจน์คำกล่าวที่ว่า “กินปลาแล้วสมองจะดี”

ดังนั้น เพื่อให้เยาวชนของชาติมีมันสมองที่ฉลาด เป็นกำลังสำคัญในอนาคตและเพื่อให้ผู้ใหญ่ในวันนี้มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจมีประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพสูง เราควรนำปลา – อาหารคู่ชีวิต มาประกอบอาหารรับประทานทุกวัน


อ้างอิง: http://nutrition.anamai.moph.go.th/temp/main/view.php?group=2&id=122
กินปลาแล้วได้อะไร
 


 
 
                ปลา เป็นอาหารคู่ชีวิตของคนไทยจนเราพูดกันติดปากว่า “กินข้าว กินปลา” ปลาเป็นอาหารที่หาได้ง่ายตามแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งที่เป็นธรรมชาติและแหล่งน้ำที่จัดสร้างขึ้น คนไทยรู้จักจับปลาเป็นอาหารและขายเป็นสินค้าโดยใช้เครื่องมือง่ายๆ ตลอดจนใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้ประเทศไทยเรามีปลาบริโภคมากมายหลายชนิดและจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศ ปลาเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เราจัดปลาไว้ในอาหารหลักหมู่ที่หนึ่งในประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นมและถั่วเมล็ดแห้ง โปรตีนในเนื้อปลาจะถูกนำไปใช้ในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ ไขมันที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะสมอง จะป้องกันการจับแข็งตัวของไขมันในเส้นเลือด วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะควบคุมการทำงานของร่างกายให้ทำหน้าที่ได้ตามปกติ
 
         ในเนื้อปลามีสารอาหารชนิดใดบ้างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
            ด้านหลัก : จะเป็นโปรตีน ซึ่งในเนื้อปลาจะเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไขมันจะมีอยู่บ้าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของปลา อย่างในปลาน้ำจืดจะมีไขมันไม่มากนัก ยกเว้นพวกปลาสวาย หรือปลาสลิดตากแห้ง ส่วนปลาทะเล ก็จะมีไขมันอีกประเภทซึ่งจะแตกต่างจากปลาน้ำจืด พวกที่เป็นกรดไขมันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เราพบว่า มันมีคุณค่าในแง่ของการลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และอาจจะช่วยในการป้องกันโรคต่างๆ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจหรือไขมันในเลือดสูง นอกจากนั้น เครื่องใน ตับปลา ก็จะมีน้ำมันและวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน เป็น วิตามิน A D E K และ แร่ธาตุ โดยเฉพาะในตัวปลาบางชนิดที่เรารับประทานได้ ก็จะได้แคลเซียมด้วย
 
         ในด้านประโยชน์ต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง
                ด้านหลัก : ก็จะได้โปรตีน เพราะโปรตีน เพราะโปรตีนในเนื้อปลาจะย่อยง่าย มีคุณค่าในแง่ของการบำรุงสมอง การพัฒนาสมองในเด็ก โดยเฉพาะปลาทะเล นอกจากจะได้โปรตีนแล้ว ยังจะได้แร่ธาตุไอโอดีน จะมีบทบาทในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะป้องกันที่ไกลจากทะเลก็จะมีความเสี่ยงก็จะเกิดโรคคอพอก ในกลุ่มผู้สูงอายุก็เป็นแหล่งโปรตีน ที่รับประทานง่าย ย่อยง่าย ก็จะเป็นประโยชน์ของปลา


การรับประทานปลาให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกาย 1. รับประทานปลาที่ปรุงสุก
2. เปลี่ยนประเภทของปลาไปเรื่อย ๆ ลดปัญหาการปนเปื้อน
3. บริโภคร่วมกับอาหารอื่น ๆ ให้ครบทุกชนิด คือ อาหารหลัก 5 หมู่


ข้อแนะนำช่วงท้ายรายการ
ข้อแนะนำเพื่อสุขภาพ
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2. รับประทานอาหารให้พอเหมาะ
3. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมาก นอกจากจะช่วยควบคุมลำดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เส้นใยอาหารจะช่วย
4. หลีกเลี่ยงการรับประทานที่มีไขมันในปริมาณมาก
5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
6. งดการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา


อ้างอิง : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=345

Review ร้านอาหารย่านปทุมธานี

ไก่เหลือง

 
 
ไก่ย่างแสนอร่อย รสเจ็บ โดนใจ หอมกรุ่นด้วยเครื่องเทศนานาชนิด
 
 
               ไก่เหลืองเป็นไก่ย่าง รสชาติเผ็ดร้อนด้วยเครื่องเทศไทยหลากหลายชนิด กลิ่นหอมกรุ่นด้วยเครื่องเทศ เนื้อไก่แน่นๆ และรสชาติแซบซี๊ดของเครื่องเทศที่เข้าเนื้อไก่ เมื่อกัดเข้าปากเต็มๆคำ จะได้สัมผัสกับความแน่นของเนื้อไก่และรสชาติแซบๆ ของเครื่องเทศ
 
 

               ร้านไก่เหลือง ตั้งอยู่ที่ ซอยวัดโพธิ์เลื่อน ต.บ้านกระแชง อ.เมือง จ.ปทุมธานี ร้านไก่เหลือเป็นร้านเล็กๆตั้งอยู่ริมถนน ข้างศาลาพักผู้โดยสาร เป็นร้านที่มีเพียงเตาย่าง 1 เต่า และตู้กระจกใส่ไก่เพียง 1 ตู้เป็นร้านเก่าแก่ดั้งเดิม จากการสอบถาม เจ้าของร้านบอกกับเราว่า ขายไก่เหลืองนี้มาหลายสิบปีแล้ว สูตรนี้เป็นสูตรต่อมาจากบรรพบุรุษและตัวเองก็ได้สืบทอดต่อมาจากคุณแม่ ตอนนี้นอกจากจะขายอยู่ที่ร้านแล้วก็ยังรับสั่งเป็นจำนวนมากๆหากมีลูกค้าสนใจจะสั่งก็สามารถติดต่อสอบถามได้ ราคาส่งและราคาปลีกจะต่างกัน ราคาส่งก็ ไม้เล็กไม้ละ 10 บาท




               นอกจากรสชาติที่ถูกหมักก่อนนำลงไปย่างในเตาแล้ว หากใครที่ชอบความแซบ ทางร้านก็มีน้ำพริกแยกให้สำหรับผู้ที่ชอบรสจัดมากๆ และสำหรับผู้ที่ไม่ชอบทานเผ็ดและรสจัดมากๆก็สามารถทานได้เลยแบบไม่ต้องราดน้ำพริกเพิ่ม รับรองว่า อร่อยแน่นอน
 




 

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเก็บรักษาปลา

   ถ้ารู้จักวิธีการเก็บปลาอย่างถูกต้องเหมาะสมจะทำให้เนื้อปลาคงความสดใหม่ได้นานหลายวัน 
ซึ่งทำได้ดังนี้
      1. ปลาที่ซื้อมาต้องควักเหงือกและไส้ออกให้หมด  ล้างแล้วซับน้ำให้แห้ง เก็บใส่ถุงหรือกล่องปิดให้สนิ นำเข้าแช่ในตู้เย็นทั่วไปช่องแช่แข็ง  ซึ่งตู้เย็นทั่วไปช่องแช่แข็งจะมีอุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส  จะเก็บได้นาน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นตู้แช่แข็งขนาดใหญ่จะมีอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานถึง 1 เดือนหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความสดของปลาที่ซื้อา
  
      2. การจัดเก็บปลาในกระบะน้ำแข็ง  เริ่มที่ควักเหงือกและไส้ปลาออก ล้างทำความสะอาดตัวปลาแล้วใส่น้ำแข็งไว้ในท้องปลา  จัดเรียงตัวปลาโดยวางส่สนท้องปลาลงบนกระบะน้ำแข็ง ให้ตัวปลาตั้งขึ้นเหมือนตอนปลายว่ายน้ำ แล้วจึงใช้น้ำแข็งโปะรอบๆตัวปลาให้แน่น  เพื่อให้ความเย็นช่วยรักษาความสดของเนื้อปลาไว้  โดยต้องเติมน้ำแข็งตลอดเมื่อน้ำแข็งละลาย  ซึ่งกระบะน้ำแข็งควรเจาะรูให้น้ำที่ละลายไหลออกไป  เพื่อเป็นการรักษาระดับความเย็นในกระบะน้ำแข็งให้เย็นอยู่ตลอด  ช่วยให้ปลาไม่ช้ำและคงความสดอยู่  วิธีนี้นิยมใช้กับแผงที่ขายปลาเท่านั้น เพื่อให้ลูกค้าเห็นตัวปลา
      

      3. การเก็บเนื้อปลาที่แล่หรือหั่นเป็นชิ้น  คือ ใส่ชิ้นเนื้อปลาในถุงพลาสติกหรือภาชนะเก็บเข้าในตู้เย็นช่องแช่แข็งหรือวางบนหรือแช่อยู่ในน้ำแข็ง ไม่ควรให้ถูกน้ำแข็งโดยตรง ถ้าเนื้อปลาสัมผัสกับน้ำหรือน้ำแข็ง เมื่อน้ำแข็งละลายจะล้างเอารสและกลิ่นปลาออกจนหมด


เคล็ดลับการทำอาหารจานปลาตำรับเด็ด
   
     ปลาทำอาหารได้หลากหลาย เพียงเลือกปลาให้เหมาะกับการทำอาหารจานต่างๆมากที่สุดคือ ปลาที่มีไขมันมาก อย่างปลาสำลี ปลาทู ปลาแซลมอน ปลาอินทรี เหมาะที่จะปิ้งย่าง อบ ต้ม หรือแกง ส่วนปลาที่มีไขมันปานกลาง อย่างปลาทูน่า ปลากะพง ปลาทราย ทำอาหารได้ทุกวิธี และปลาที่มีไขมันน้อยเช่น ปลาลิ้นหมา หรือปลาตาเดียว เหมาะกับการทอดน้ำมันมาก
      เนิ้อปลามีโครงสร้างที่มีพังผืดน้อย เส้นใยกล้ามเนื้อปลาแยกออกจากกันได้ง่าย ดังนั้นจึงใช้เวลาน้อยในการปรุงอาหาร ถ้าหุงต้มปลานานเกินไปน้ำหวานจากเนื้อปลาจะแห้งหายไป

อ้างอิง ; หนังสือปลาตำรับเด็ด สำนักพิมพ์แสงแดด / มกราคม 2555

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เราจะเลือกซื้อปลาอย่างไรให้ได้ปลาสด 2

 ปลาแบบหั่นท่อนและเนื้อปลาแบบแล่

     

1. เนื้อปลาต้องสดใส  เนื้อแน่น ไม่เละ และไม่มีกลิ่นคาว 

2. เนื้อปลาต้องมีสีตามชนิดปลานั้นๆ เช่น เนื้อปลาแซลมอนต้องมีสีส้ม เนื้อปลากะพงขาวมีสีขาวใส 

    เนื้อปลากะพงแดงสีชมพูใส เนื้อปลาอินทรีสีแดงใส เป็นต้น

ปลาและเนื้อปลาแช่แข็ง

         

1. ต้องบรรจุในภาชนะปิดสนิท  อยู่ในสภาพดี มองเห็นชิ้นปลา และมีรายละเอียดบอกชัดเจน

2. ต้องเลือกซื้อชิ้นหรือของชิ้นปลาให้เหมาะสมกับการทำอาหาร

หมายเหตุ 

   วิธีการละลายน้ำแข็ง คือ วางไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาเพื่อให้น้ำแข็ง   

ละลายทีละน้อยจนเนื้อปลานิ่ม ถ้ามีเวลาน้อยให้วางพักที่อุณหภูมิห้องนาน

ประมาณ 3-4 ชั่วโมง แต่ไม่ควรแช่น้ำโดยตรงเพื่อละลายน้ำแข็งเป็นอัน

ขาด เพราะจะทำให้เนื้อปลาเละ  ไม่หวาน ไม่อร่อย ปลาเมื่อนำมาละลาย

น้ำแข็งแล้วไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งใหม่ เพราะคุณภาพเนื้อปลาจะเสื่อมลง

 ดังนั้นเมื่อซื้อปลามาแล้วควรแบ่งใส่ถุงพลาสติกเป็นส่วนๆ


อ้างอิง ; หนังสือปลาตำรับเด็ด สำนักพิมพ์แสงแดด / มกราคม 2555

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

เราจะเลือกซื้อปลาอย่างไรให้ได้ปลาสด

                         
  วิธีการเลือกซื้อปลา
                 
     ปลามีขายทั้งในตลาดสด แยกเป็นแผงปลาน้ำจืด จะมีปลาเป็นๆขายอย่างเช่น ปลาช่อน ปลาดุก ปลาไหล และมีปลาตายให้เลือกซื้อกันหลายชนิด บางเจ้าขายแบบหั่นเป็นชิ้น  และแผงปลาทะเล จะขายปลาตายเป็นหลัก เช่น ปลากะพง ปลาเก๋า ปลาจะละเม็ด ฯลฯ   มีบางตลาดและบางเจ้าเท่านั้นที่ขายปลาทะเลเป็นๆด้วยนอกจากนี้ปลาน้ำจืดและปลาทะเลชนิดต่างๆยังหาซื้อได้ตามซูเปอร์มาเก็ตทั่วไป

                     
      การทำอาหารจานปลาให้อร่อย  ปลาต้องสดใหม่ เพราะเนื้อปลาที่สดใหม่ จะนุ่ม  หวาน  มัน  ตามลักษณะของปลานั้นๆ  ปราศจากกลิ่นคาวเมื่อนำไปนึ่ง ทอด ต้ม ลวก เนื้อปลาจะฟูขาว น่ากิน ถ้าได้ปลาเป็นๆ เรียกได้ว่าปลาสดแน่นอน แต่ถ้าเป็นปลาตายต้องเลือกซื้อให้ได้ปลาที่สดใหม่
                       
โดยมีวิธีการดังนี้  ปลาทั้งตัว
                         
      ดมกลิ่น ปลาแต่ละชนิดมีกลิ่นคาวปลาเป็นธรรมชาติ  เรียกว่ากลิ่นคาวสด  อย่างปลาน้ำจืด อาจมีกลิ่นโคลน  กิ่นดิน ปลาทะเลอาจมีกลิ่นน้ำเค็ม ดมแล้วจะต้องไม่มีกลิ่นเหม็นคาวจากตัวปลา                            
      สัมผัสเกล็ดหรือผิวปลา  เกล็ดต้องเรียงติดแน่นกับหนัง  ไม่แห้ง บางชนิดอาจมีคล้ายเมือกลื่นเคลือบอยู่บางๆ เกล็ดใสเป็นมันวาว  ปลาที่ไม่มีเกล็ดหนังปลาต้องลื่นและชื้น เป็นมัน มีเมือก ใสๆบางๆหุ้มทั้งตัว

     ครีบและหาง ต้องชื้น สด เรียงเป็นแพ ไม่ลีบ ติดกัน และไม่มีฉีกขาด  ครีบปลาโดย
เฉพาะตรงหางต้องเปียก  เมื่อใช้มือบิดจะงอตามมือ

    เนื้อปลา  ต้องแน่นและยืดหยุ่น  เมื่อใช้นิ้วกดลงไปเบาๆ  เนื้อจะยุบตัวเล็กน้อยและสปริงเด้งกลับ  หากกดแล้วยังมีรอยบุ๋มของนิ้วมืออยู่แสดงว่าปลาไม่สด

     ตาปลาต้องใส  กลมนูน ไม่ลึก ไม่จมเข้าไปในเบ้า  ไม่ขุ่น   และไม่มีจุดเลือดสีแดง
 
      เหงือก ต้องมีสีชมพูหรือสีแดงสดจนถึงสีแดงม่วงเข้มอมน้ำตาลเป็นประกาย  ไม่แห้ง  ไม่มีร่องรอยของสีเทาหรือน้ำตาล  และต้องดูชื้น  สีแดงของเหงือกปลา  แดงมากแดงน้อยแล้วแต่ชนิดปลาด้วย
     
      ท้องปลา  ไม่มีรอยแตกหรือรอยฉีกขาด และท้องปลาไม่บวม

อ้างอิง ; หนังสือปลาตำรับเด็ด สำนักพิมพ์แสงแดด / มกราคม 2555